วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มาตรา 137 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1050/2514 ความผิดฐานแจ้งความเท็จ จำเลยต้องรู้อยู่ว่าข้อความที่ตนไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานนั้นเป็นความเท็จ ถ้าจำเลยเชื่อโดยมีเหตุผลอันควรเชื่อว่าเป็นความจริงเช่นนั้น จำเลยก็ยังไม่มีความผิดฐานนี้
- "การแจ้ง"
- การแจ้ง” คือ ให้ทราบ” จะต้องมีการกระทำอันเป็นการแจ้ง และการกระทำนั้นทำให้เจ้าพนักงานได้ทราบข้อความที่แจ้ง จึงเป็นผล องค์ประกอบนี้จึงเป็นความผิดสำเร็จที่อาศัยผล คือ เจ้าพนักงานจะต้องทราบการแจ้ง หากแจ้งแล้ว แต่เจ้าพนักงานยังไม่ทราบ เพราะหูหนวก ไม่ได้ยิน หรือเสียงบริเวณนั้นดังมาก เป็นพยามแจ้งความเท็จได้ การนิ่ง คือ ไม่พูด ไม่ถือเป็นการแจ้งตามมาตรานี้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 492/2509 การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 นั้นไม่ว่าไปแจ้งเองหรือตอบคำถามที่เจ้าพนักงานเรียกไปสอบสวนเป็นพยาน ก็เป็นการแจ้งต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งมาตรานี้ทั้งนั้น
- ข้อความ
- ข้อความอันเป็นเท็จ” หมายถึง ข้อเท็จจริง ในอดีต หรือปัจจุบัน ที่ไม่ตรงต่อความจริง ไม่ใช่คำมั่นสัญญา หรือการรับรองข้อเท็จจริงที่จะมีขึ้นในอนาคต
- คำพิพากษาฎีกาที่ 928/2474 , คำพิพากษาฎีกาที่ 56/2478 (เน 51/2/21) การแสดงความคิดเห็น ในการประมาณราคาทรัพย์ ที่ใช้เป็นหลักประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา แม้จะผิดไปจากความจริง หาก ไม่ตั้งใจจะให้ผิดไปจากความจริง โดยรู้ว่าความจริงเป็นราคาเท่าใด ไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จ” / (เทียบ การแสดงความคิดเห็น ในการประมาณราคาหุ้น และที่ดิน ผิดไปจากความจริง เพื่อเป็นหลักประกัน ทุเลาการบังคับคดี หาก ตั้งใจจะให้ผิดไปจากความจริง โดยรู้ว่าความจริงอยู่แล้ว ถือเป็นการแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2913 ถึง 2915/2528 จำเลยที่ 1 ยืมรถยนต์โดยสารจาก ส. ฝากรถไว้แก่จำเลยที่ 2 ต่อมา ส.ขับรถดังกล่าวชนรถอื่นมีคนบาดเจ็บ ร.ต.อ. ก.ติดตามพบรถ แต่ไม่พบคนขับ จึงนำรถไปไว้ที่สถานีตำรวจ จำเลยที่ 1 ได้แจ้งความว่าจำเลยที่ 1 มีความเห็นว่าการกระทำของ ร.ต.อ. ก.กับพวกรวม 3 คนเป็นการร่วมกันเอารถยนต์ไป โดยเจตนาทุจริตและใช้กำลัง อันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์และลักทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงความเห็น หรือความเข้าใจไม่ เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.173, 174 วรรคสอง ประกอบด้วย ม.181 (1) ซึ่งจะต้องได้รับโทษหนักขึ้น
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1173/2539 ความที่จำเลยที่ 3 แจ้งความร้องทุกข์ ต่อพนักงานสอบสวน ตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 2 ไปพบเห็นมา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึง แจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย จึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5600/2541 จำเลยนำความไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บ เป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จ จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- ข้อความอันเป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 459/2472 ศาลฎีกาเห็นว่า ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ม.118 (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137) นั้น เพียงแต่จำเลยมีเจตนาเอาความเท็จมากล่าว และอาจจะเสียหายได้แล้ว ก็มีความผิด การที่เจ้าพนักงานจะทราบความเท็จหรือไม่นั้น ไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยสาบาลตัวกล่าวความเท็จเช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความเสียหายต่อทางราชการ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 586-600/2504 จำเลยจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างอาคาร และจ่ายเงินให้โจทก์นำไปใช้ในก่อสร้าง โดยให้โจทก์ออกเช็คไว้ให้เป็นประกันการก่อสร้าง โดยเป็นที่เข้าใจกันว่าจะบังคับให้มีการจ่ายเงินตามเช็คได้ ต่อเมื่อได้คิดบัญชีหักทอนกันก่อน แต่ต่อมาโจทก์จำเลยผิดใจกันจำเลยนำเช็คที่โจทก์ออกให้ไปเข้าบัญชีธนาคาร ๆปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงไปแจ้งความแก่ตำรวจหาว่า โจทก์ทำผิดอาญาฐานใช้เช็คโดยไม่มีเงินพอจ่าย ดังนี้ เป็นการแจ้งความเพื่อให้เจ้าพนักงานเข้าใจว่าเช็คที่โจทก์ออกให้แก่จำเลย เป็นการออกให้ในการยืมเงินตามธรรมดาและเช็คถึงกำหนดการชำระแล้ว จึงเป็นความเท็จ ส่วนความจริงเป็นเรื่องโจทก์ออกเช็คเพื่อประกันการที่จำเลยจ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์และเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดตามตกลงกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ ส่วนโจทก์ยังไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
- คำพิพากษาฎีกาที่ 919/2504 จำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจว่า รถจักรยานถูกลักไป ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ต่อมาจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นคนร้าย โดยตนเห็น และได้ไล่ติดตามโจทก์ในคืนเกิดเกิดเหตุด้วย ซึ่งความจริงจำเลย มิได้รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 400/2508 (อัยการนิเทศ พ..2508 น 445การที่จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไปแจ้งความว่า โจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ..ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง แต่ไม่ได้แจ้งด้วยว่าโจทก์ได้โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยตนเอง เป็นภาษาไทย ในกิจการของเทศบาล ซึ่งตามกฎหมายไม่ต้องได้รับอนุญาต ทั้งๆ ที่จำเลยรู้อยู่แล้ว ถือได้ว่าคดีมีมูล ควรได้ฟังข้อแก้ตัวของจำเลย ว่าเหตุใดตนจึงไม่ควรได้รับโทษฐานแจ้งความเท็จ (จงใจแจ้งข้อเท็จจริง"บางส่วนทำให้เห็นว่ามีการกระทำผิด ผู้แจ้งเท็จมีความผิด(คดีนี้เป็นประเด็นชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามมาตรา 173 ซึ่งศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่าพนักงานอัยการมีอำนาจรับแก้ต่างคดีให้ได้ และให้ศาลชั้นต้นประทับรับฟ้อง)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2302/2523 คำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวจะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดี คำว่า "ศาล" หมายถึงผู้พิพากษาที่มีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว ตลอดจนการบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญา จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยยื่นคำร้องเท็จว่า ส. ถึงแก่กรรมเป็นการร้องเพื่อให้พ้นจากความผิดตามสัญญาประกัน จึงเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน / จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรกำนันปฏิบัติหน้าที่แทนกำนัน เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกสำเนาทะเบียนบ้านว่าย้ายออก และมีหน้าที่ กรอกข้อความลงในมรณบัตร ตามอำนาจหน้าที่ โดยลงชื่อจำเลยที่ 2 ในช่องนายทะเบียนผู้รับแจ้งมรณบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าว จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้น แม้ข้อความในมรณบัตร และสำเนาทะเบียนบ้าน ไม่ตรงกับความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ.ม.161 แต่เป็นความผิดตาม ม.162
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3470/2525 จำเลยเป็นคนต่างด้าว แม้จะเคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ก็หาใช่ข้ออ้างที่จะนำมาใช้ เพื่อขอให้มีการทำบัตรใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ ซึ่งได้มาโดยไม่ถูกต้องและฝ่าฝืนกฎหมายนั้นไม่ การอ้างสัญชาติของจำเลยต่อนายทะเบียนในครั้งก่อนและครั้งหลัง แม้จะเป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงความเป็นสัญชาติไทย อันเป็นเท็จในลักษณะเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นการอ้าง และนำหลักฐานแสดงเท็จต่อนายทะเบียน คนละเวลาต่างกรรมต่างวาระกัน เป็นการกระทำความผิดซ้ำขึ้นมาใหม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1566/2525 จำเลยเป็นพนักงานปกครอง ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าเขต ให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหมวดนิติกรรม และที่ดิน เมื่อโจทก์มิได้มาพบและขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจให้ขายที่ดิน แต่จำเลยได้ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์เป็นผู้มาขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเอง ทั้งที่ได้รู้จักตัวโจทก์แล้วก่อนให้การ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2501/2527 สมุดเช็คของจำเลยมิได้หายไป จำเลยกลับไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่า สมุดเช็คของจำเลยหายไปซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายและพนักงานสอบสวนได้รับความเสียหาย จำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. ม.137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2141/2532 จำเลยทั้งสี่รับรองบัญชีเครือญาติ ต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 4 คน คือจำเลยทั้งสี่อันเป็นเท็จ จำเลยทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ตายยังมีบุตรสาวอีก 2 คน เจ้าพนักงานโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำให้กรมที่ดินและบุตรสาวอีก 2 คน ของผู้ตายเสียหาย จำเลยทั้งสี่ผิดตาม ป.อ.มาตรา 137 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่กระทำความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 734/2533 จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทย และไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ โดยมีเจตนาเดียวกัน เพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 / คดีมีปัญหาต่อไปว่า จะลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมในกระทง ความผิดไปตามที่โจทก์ฎีกาได้หรือไม่ ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนตลอดถึงเจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน เป็นการกระทำ ต่อเนื่องมีเจตนาเดียวที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชน ให้เท่านั้น ซึ่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.. 2526 มาตรา14 ได้บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่ต่างกรรมต่างวาระดังที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษไม่พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.. 2526 มาตรา 14 ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.. 2526 มาตรา 14ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุก 8 เดือน โดยไม่ลดโทษ ฟ้องโจทก์ฐานใช้เอกสาร ดังกล่าวให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
- คำพิพากษาฎีกาที่ 743/2539 จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จ โดยกรอกข้อความในใบสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด ว่าบิดาจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย และจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปี 4 โดยรู้อยู่ว่าไม่เป็นความจริง จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดฯ มาตรา 64
- ข้อความ ไม่เป็นเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1455/2529 จำเลยที่ 2 ขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมี ซึ่งมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบเครื่องจักรแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.2514 ด้วย ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คือเครื่องจักร จึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปพูดหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร และโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือดังกล่าวให้ไป การกระทำของจำเลยทั้งสอง ก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง เพราะหนังสือนั้นเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงาน จึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จหรือกล่าวเท็จ เพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. ม. 137, 267 / จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้โจทก์หมดแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแทน จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่จำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมโอนขายเครื่องจักรในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้แก่จำเลยที่ 1จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. ม.137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 505/2537 การที่คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล มีมติว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ทำนา เป็นเพียงความเห็นในการรับฟังถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ว่า ไม่น่าเชื่อถือ และการที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด มีมติว่าจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ทำนา ก็เพราะเชื่อถ้อยคำของจำเลยทั้งสี่ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล
- "เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่"
- เจ้าพนักงาน” เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง ต้องมีหน้าที่ และกระทำการในหน้าที่ (เน 51/2/27) เจ้าพนักงาน หมายถึง ฝ่ายบริหาร รวมถึงฝ่ายตุลาการ กรณีของฝ่ายตุลาการ หากปรับ มาตรา177 แล้ว ไม่ต้องปรับ มาตรา 137 อีก (เน 51/2/27)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 197/2481 (เน 51/2/27) กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ค้นและจับคนในที่รโหฐาน โดยไม่มีหมายค้นและหมายจับ แม้เจ้าบ้านแจ้งข้อความเท็จว่า ผู้ที่จะถูกค้น ไม่อยู่ ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2054/2517 การเบิกความเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน เพราะศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดี ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 177 ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2411/2518 อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นเจ้าพนักงานรับเงินเดือนข้าราชการจากงบประมาณประเภทเงินเดือน จำเลยร้องเรียนเท็จว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ ในบังคับบัญชาอธิบดีเรียกเอาเงินจากจำเลย เป็นความผิดตาม ม.137 กับ ม.326 ไม่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตาม ม.328 ม.137 และ 326 กำหนดโทษเท่ากันศาลลงโทษตาม ม.137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2413/2521 (สบฎ เน 5618) ผู้เสียหาย กับ ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ต้องหา” เจรจาตกลงค่าเสียหายกัน ไม่ใช่เจรจาโดยผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบ การแจ้งความเท็จไม่เป็นความผิด
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2302/2523 (สบฎ เน 6286) คำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวจะต้องยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดี คำว่า "ศาล" หมายถึงผู้พิพากษาที่มีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา ผู้พิพากษาจึงมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราว ตลอดจนการบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญา จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยยื่นคำร้องเท็จว่า ส. ถึงแก่กรรมเป็นการร้องเพื่อให้พ้นจากความผิดตามสัญญาประกัน จึงเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน / จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรกำนันปฏิบัติหน้าที่แทนกำนัน เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ออกสำเนาทะเบียนบ้านว่าย้ายออก และมีหน้าที่ กรอกข้อความลงในมรณบัตรตามอำนาจหน้าที่ โดยลงชื่อจำเลยที่ 2 ในช่องนายทะเบียนผู้รับแจ้งมรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แท้จริงที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้น แม้ข้อความในมรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไม่ตรงกับความจริง ก็ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ.ม.161 แต่เป็นความผิดตาม ม. (เทียบ ฎ1122/2518 คำร้องอนาถาเท็จ ผิด ม 137)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 310/2530 ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอ และมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่ อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ. จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 มาตรา 17 แต่การที่ อ.ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ. และ อ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตาม มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว
- คำพิพากษาฎีกาที่ 6796/2540 ความผิดฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายตาม ป.อ. มาตรา 137 นั้น หมายถึงการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วไป มิใช่เจ้าพนักงานฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าขณะที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนาม หรือญวนมีสถานภาพเป็นคนญวนอพยพ ร้อยตำรวจตรี ก. ร่วมทำการสืบสวนสถานภาพของจำเลย ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน การสืบสวนของร้อยตำรวจตรี ก. เกี่ยวกับสถานภาพของจำเลยและการสอบปากคำจำเลย จึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงาน หาใช่กระทำการโดยปราศจากคำสั่ง หรือมิได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาไม่ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 7985/2540 การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 นั้น จะต้องเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โดยได้รับการแต่งตั้งตามวิธีการที่กฎหมายให้อำนาจและกำหนดไว้ สำหรับ พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 มาตรา 16 (2) กำหนดให้กองอาสารักษาดินแดนมีหน้าที่ทำหน้าที่ตรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และมาตรา 29 ระบุว่าเจ้าหน้าที่หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ในระหว่างทำการตามหน้าที่ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญา ตามบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้เสียหายทำงานร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จึงจะมีอำนาจตามกฎหมาย และให้ถือว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน แต่ผู้เสียหายมีหน้าที่เพียงสกัดกั้นผู้กระทำความผิดต่อกฎหมาย ไม่มีหน้าที่จับกุม หากจะจับกุมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจและปลัดอำเภอร่วมด้วยดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเจ้าพนักงานตำรวจ หรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับผู้เสียหายในการจับกุมจำเลย ผู้เสียหายย่อมไม่เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138
- ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 654-655/2513 จำเลยเป็นบุคคลต่างด้าว เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรในฐานะเป็นบุคคลไม่นับเป็นคนเข้าเมือง ก่อนครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ จำเลยได้แจ้งขอเดินทางออกจากประเทศไทยและได้รับอนุมัติแล้ว แต่แล้วจำเลยกลับใจจะไม่เดินทางออกไป และได้แจ้งต่อกองตรวจคนเข้าเมือง เท่ากับจำเลยได้แจ้งความเปลี่ยนแปลงเพิกถอนคำแจ้งความที่ว่าจะเดินทางออกไปนั้นเสียแล้ว และไม่ทำให้ผู้ใดเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยแจ้งความเท็จ และการอยู่ในประเทศไทยต่อมา ก็เป็นการอยู่โดยชอบกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1544/2524 จำเลยแจ้งความต่อตำรวจ ผู้ขอตรวจใบอนุญาตขับรถของจำเลยว่า ใบอนุญาตหาย กับแสดงสำเนาใบแจ้งความว่าหายด้วย ความจริงใบอนุญาตถูกตำรวจยึดไว้ก่อนแล้ว ดังนี้ ทำให้ตำรวจเสียหายที่ไม่จับจำเลย เป็นความผิดตาม ป.อ.ม.137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2039/2528 โจทก์และจำเลยต่างก็เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยจ่ายเงินแก่ทายาท จำเลยยื่นงบดุลกองมรดกต่อศาลแสดงจำนวนเงินเหลืออยู่มากกว่าจำนวนที่เหลืออยู่จริง แม้จะเป็นเท็จ ก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดี และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ไม่ได้รับความเสียหาย เพราะไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิรับเงินมรดกน้อยกว่าจำนวนที่เป็นจริงแต่ประการใด โจทก์จะเสียหาย ก็ต่อเมื่อจำเลยแสดงงบดุลจำนวนเงินมรดกน้อยกว่าที่เป็นจริง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลความผิดฐานแจ้งความเท็จ หรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ. ม.137, 180
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1329/2529 จำเลยซื้อที่ดินซึ่งมี (น.ส.3) อยู่แล้ว จำเลยได้ไปขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินนั้นอีก โดยแจ้งต่อ ป.เจ้าหน้าที่พิสูจน์ สอบสวนว่าที่ดินดังกล่าว ยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน จนทางราชการออก น.ส.3 ก.ให้จำเลย แต่ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิกถอน เพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ดังนี้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ.ม.137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1489/2530 ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธร และผู้บัญชาการตำรวจภูธร ต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตาม มาตรา 137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2141/2532 จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอรับมรดกที่ดินมีโฉนดแล้ว จำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำและยืนยันรับรองบัญชีเครือญาติต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่สอบสวนที่ดินมรดก ว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 4 คน คือจำเลยทั้งสี่ อันเป็นเท็จ ซึ่งความจริงจำเลยทั้งสี่ ต่างทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ตายยังมีบุตรสาวอีก 2คนเป็นทายาทโดยธรรม เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำขอของจำเลยทั้งสี่ทำให้กรมที่ดินและบุตรสาวอีก2 คน ของผู้ตายเสียหาย จำเลยทั้งสี่ย่อมมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 137 และกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในวันที่กระทำความผิดนั้นเอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3252/2543 จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐาน หากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จ หรือผิดความจริงไปบ้าง ก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวน เนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลย จึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี เพื่อเอาผิดต่อจำเลย ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้ (น่าจะเกิดความเสียหายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อความที่เท็จ แต่คดีนี้ศาลวินิจฉัยเพียงว่า โจทก์ยังไม่ใช่ผู้เสียหาย ที่จะมีอำนาจฟ้อง)
- การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา เกี่ยวพันกับมาตรา 172  174
- คำพิพากษาฎีกาที่ 8018/2544 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่า ได้ทำโฉนดที่ดินของจำเลยรวม 3 ฉบับสูญหายไป ซึ่งความจริงแล้ว โฉนดที่ดินทั้งสามฉบับไม่ได้สูญหายไป และแจ้งให้พนักงานสอบสวน จดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เจตนา ของจำเลยก็เพื่อนำเอกสารรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ไปใช้และแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน กับแจ้งแก่เจ้าพนักงาน ที่ดินว่าโฉนดที่ดิน 3 ฉบับสูญหายไปเพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดิน ทั้งสามฉบับ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการกระทำคนละวัน และต่อเจ้าพนักงานคนละหน่วยงานกันแต่เป็นการกระทำโดย มีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อขอรับโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับ นั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อ กฎหมายหลายบท / ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 83 เป็นการกระทำ อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 267 แต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 จำคุก 6 เดือน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1001/2545 บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ที่ออกให้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการแสดงตนของบุคคล การที่จำเลยที่ 1แจ้งความเท็จว่าตน ชื่อ ปและบัตรประจำตัวประชาชนของตนสูญหายไป เป็นเหตุ ให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสาร ราชการและจำเลยที่ 2 รับรองต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยที่ 1 คือ ปและบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 สูญหายจริงพร้อมทั้ง ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับรอง และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันใช้เอกสาร ราชการปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นแสดงต่อเจ้าพนักงาน เพื่อขอมีบัตรใหม่ อันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชน ฉบับใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง แก่ทางราชการ และอาจสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริต ทั่วไปที่จำเลยที่ 1 อาจนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ไปใช้แอบอ้าง อีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษ จำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1706/2546 เมื่อมันสำปะหลังที่ขุดเป็นของโจทก์ที่ ที่ปลูกในที่ดินเกิดเหตุ โดยจำเลยทั้งสองมิได้เป็นผู้ปลูก การที่จำเลยที่ ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ลักทรัพย์มันสำปะหลังที่ตนปลูก จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหาย จำเลยที่ ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 หาใช่เป็นเรื่องขาดเจตนาไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ไปให้การเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนยืนยันว่าตนร่วมปลูกมันสำปะหลังกับจำเลยที่ ซึ่งเป็นความเท็จ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ จะได้มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ การกระทำของจำเลยที่ คงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าเท่านั้น
- ประเด็นเปรียบเทียบ การแจ้งแก่เจ้าพนักงาน ในการขอจดทะเบียนสมรสซ้อน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2614/2518 ชายมีภริยาจดทะเบียนอยู่แล้ว จดทะเบียนสมรสกับหญิงอีก โดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าไม่เคยสมรสมาก่อน เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.137 หญิง (ภรรยาใหม่)เป็นผู้เสียหายฟ้องตาม ม.137 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2583/2522 สามีจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น โดยที่ยังไม่ขาดจากภริยาเดิมที่ได้จดทะเบียนสมรสไว้ แต่อ้างกับเจ้าหน้าที่จดทะเบียนว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ภริยาเดิมเป็นผู้เสียหายฟ้องสามีตาม ป.อ.ม.137 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 5052/2530 โจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับน้องสาวของโจทก์ไว้ก่อนแล้ว การที่จำเลยแจ้งต่อนายทะเบียน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำตามหน้าที่ให้จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานว่า ไม่เคยจดทะเบียนสมรส ณ ที่ใดมาก่อนเพื่อขอจะทะเบียนสมรสกับโจทก์ นายทะเบียนจึงจดทะเบียนสมรสให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1237/2544 ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 จะต้องปรากฏว่าการแจ้งความเท็จนั้น อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. จำเลยไม่มีคู่สมรส เพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้วก่อนหน้านั้น แม้จำเลยจะแจ้งต่อนายทะเบียนว่าจำเลยเคยสมรส แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเคยจดทะเบียนสมรสกับ ค. ก็มีผลอย่างเดียวกัน ไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ไม่เป็นความผิด
- การกระทำ ที่ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- (ขส อ 2533 อาญา ข้อ 5 / อัยการนิเทศ 2533 เล่ม 52 น 210) ผู้ต้องหา บอกชื่อเป็นเท็จ” ย่อมมีความผิดตาม ปอ ม 367 เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา ซึ่งผู้ต้องหาจะให้การต่อสู้อย่างไรก็ได้ แต่ไม่ผิดตาม ม 137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 568/2500 จำเลยสมคบกับ ป. พ. ฆ่ากระบือไม่รับอนุญาต จำเลยไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ว่าจำเลยไปไร่เห็น ป.พ. 2 คนเท่านั้นฆ่ากระบือ จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ (จำเลยร่วมทำผิด แจ้งต่อตำรวจไปตามความจริง เพียงแต่ไม่กล่าวถึงตนเอง ไม่มีความผิด เพราะข้อความที่แจ้งไม่เป็นความเท็จ)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 138/2505 การที่จำเลยแจ้งความตำรวจว่า โจทก์ทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในเขตบ้านจำเลยนั้น หากความจริงปรากฏว่า โจทก์ได้กั้นรั้วขึ้นตรงที่ ๆ จำเลยทำราวตากผ้า และตรงนั้นเป็นด้านหลังห้องที่จำเลยเช่าจากโจทก์ ซึ่งโจทก์เคยผ่อนผันให้จำเลยทำราวตากผ้าได้ เดินผ่านไปใช้สะพานท่าน้ำได้ ดังนี้จำเลยย่อมน่าจะเข้าใจโดยสุจริตใจได้ว่า เมื่อโจทก์มาทำรั้วกั้นเช่นนี้ จำเลยย่อมเสียสิทธิในการใช้ และเข้าใจว่าจำเลยถูกกลั่นแกล้งขัดขวางสิทธิ ฉะนั้นจะว่าจำเลยแจ้งความเท็จมีความผิดในทางอาญายังไม่ได้
- คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2508 (สบฎ เน 783ร้อยตำรวจตรีกมล กับพวก จับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลย ได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานผู้ต้องหา หรือเสมือนผู้ต้องหา จำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
- คำพิพากษาฎีกาที่ 986-987/2508 การบรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความเท็จต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีนั้น ไม่ใช่ข้อกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 137, 267
- คำพิพากษาฎีกาที่ 530/2515 และ คำพิพากษาฎีกาที่ 1122/2518 (ขส เน สมัย 33 อาญา ข้อ 2)ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเท็จ ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ ตาม ม 137 และไม่ปรากฏว่าเบิกความในชั้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอย่างไร จะถือว่าผิด ม 177 ยังไม่ได้ทนายขาดต่อใบอนุญาตลงลายมือชื่อเรียงฟ้อง ผิด พรบ ทนายความ ฯ แต่ไม่ผิด ม 137 (สังเกต ฎ 530/2515 เป็นคำคัดค้านคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก อันเป็น คำคู่ความ” / ฎ 1122/2518เป็นคำร้อง เรื่องครอบครองปรปักษ์ เป็น คำคู่ความ” (อ สุปัน อาญา เล่ม ภาค 2/95, 97) (“คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา” ไม่ใช่คำคู่ความ เพราะไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ) (เทียบ ฎ 9291/2480 (เน 47/11/38) ร้องอนาถาเท็จ ผิด แจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ)(เทียบ ฎ 474/2484 (อ ทวีเกียรติ อาญา พิมพ์ 5/292) ร้องอนาถาเท็จ ผิด ม 137 (เดิม ม118) อ จิตติว่า คำร้องที่ไม่ได้ตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ หากเท็จ ผิด ม 137 ได้ (อ ทวีเกียรติ น 294)) (เทียบ ฎ 2940/2529 (อ สุปัน อาญา เล่ม ภาค 2/104) ยื่นคำร้องขอกันส่วน แม้เป็นเท็จ ก็ไม่ผิด ม 137 เพราะมาตรานี้ มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่น คำคู่ความ” ต่อศาล)
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1122/2518 ยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพื่อตั้งประเด็น แม้ผู้พิพากษาเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ หากข้อความเป็นเท็จ ก็ไม่เป็นแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ.มาตรา 137
- คำพิพากษาฎีกาที่ 508/2524 จำเลยแจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมาย ตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงการแจ้งข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย เมื่อฟังว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความจริง จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
- คำพิพากษาฎีกาที่ 4048/2528 จำเลยเป็นคนสัญชาติญวน ไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งเลย แล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียนจดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 267 / โจทก์ฟ้องจำเลยแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ขอให้ออกบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทยลงไว้ กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267 คงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม มาตรา 137 เท่านั้น / การที่จำเลยซึ่งถูกจำกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุม ให้การปฏิเสธ พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้ตำรวจดูนั้น เป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหา แม้ข้อความที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จ ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างอิงเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิด ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตาม มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
- คำพิพากษาฎีกาที่ 353,354/2529 จำเลยร้องเรียนจากฐานความจริงหรือเหตุการณ์ที่โจทก์ปฏิบัติอยู่ ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้น โดยเข้าใจว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ อาจทำให้ราชการเสียหายและเป็นผู้บกพร่องเกี่ยวกับศีลธรรมอันดี ในกรณีชู้สาวซึ่งผิดวินัยข้าราชการดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ.ม.329 (1) (3) ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จด้วย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 2940/2529 ในการบังคับคดี โจทก์ขออายัดเงินที่จำเลยได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอกันส่วนเงินที่โจทก์ขออายัดไว้ เมื่อคำร้องขอกันส่วนเงินของจำเลยเป็นคำคู่ความ การยื่นคำร้องเป็นการดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาตามกฎหมาย แม้คำร้องจะเป็นเท็จ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามความหมายของ ป.อ. ม.137 เพราะมาตรานี้มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่การยื่นคำคู่ความต่อศาล
- บรรยายฟ้อง
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1462/2519 ฟ้องว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจดอนเจดีย์ ทำให้โจทก์เป็นผู้ต้องหา ฟ้องมิได้ระบุชื่อพนักงานสอบสวน ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
- คำพิพากษาฎีกาที่ 1701/2519 ฟ้องขอให้ลงโทษ ตาม ป.อ. ม.137, 173 บรรยายว่า จำเลยร้องทุกข์ต่อตำรวจเป็นเท็จว่าโจทก์ยักยอกรถจักรยาน ซึ่งความจริงจำเลยอนุญาตให้โจทก์ยืมรถไปใช้ จำเลยแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ แม้โจทก์ไม่บรรยายว่าจำเลยรู้ว่าเป็นข้อความเท็จ คำบรรยายฟ้องก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยกระทำความผิด
- ตัวอย่างประเด็นข้อสอบเก่า มาตรา 137
- (ขส เน 2510/ 4) ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้านจากทางราชการทุกเดือน นำมาจ่ายเงินตามสัญญาเช่าซื้อบ้าน โดยนำเงินส่วนตัวจ่ายรวมเป็นค่าเช่าซื้อด้วย ไม่ผิดฐานใด เพราะเงินค่าเช่าได้จ่ายเป็นค่าเช่าบ้านจริง ไม่ได้เอามาเป็นประโยชน์ส่วนตัว
- (ขส พ 2513/ 8) ศาลสั่งให้เด็กชายขจรซึ่งเป็นจำเลย หาผู้ปกครองมารับรองความประพฤติ เด็กชายขจรขอให้นายสงวนมาแสดงตัวเป็นบิดา ร่วมกันแถลงต่อศาลว่านายสงวนเป็นนายขจิต บิดาของเด็กชายขจร ศาลเชื่อจึงมอบขจรให้นายสงวนรับไว้ เด็กและนายสงวนผิด ม 137 คำว่าเจ้าพนักงาน” หมายถึง เจ้าพนักงานทั่วๆ ไป ไม่จำกัดเฉพาะฝ่ายบริหาร นัยเดียวกับมาตรา289 (2) (3) / และการลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา นายสงวนลงชื่อนายขจิตซึ่งเป็นบิดาของเด็กชายขจร นายสงวนผิดฐานปลอมเอกสารตาม ม 264 แต่ไม่ผิดฐานปลอมเอกสารราชการตาม ม 265 เพราะศาลเป็นผู้ทำขึ้น นายสงวนเพียงลงชื่อปลอม ฎ 561/2508

3 ความคิดเห็น:

  1. Watch manufacturing new technologies emerging replica watches
    but did not come to an end mechanical watches , although greatly reduced productionreplica watches manufacturing techniques but preserved.fifa 16 coins

    ตอบลบ
  2. This study was different from fausses montres omegapast research which has shown water consumption Replica Orologi Rolexto be an effective part of a weight loss program only when water takes the place of caloric beverages. While drinking water has wonderful health benefits, Repliche Orologi Rolex it didn’t seem that weight loss was one of them.

    ตอบลบ